อิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในประเทศไทย
นับจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปะไทยอยู่ในช่วงการปรับตัวระหว่างรูปแบบตามประเพณีนิยมกับศิลปะทางตะวันตกของยุโรป แม้ว่ายังมีการสร้างศิลปะตามแบบประเพณีนิยมอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่าตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเจ้านายและขุนนางชั้นสูงออกไปศึกษาในประเทศตะวันตก พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสประเทศในเอเชียและประเทศทางยุโรป รวมทั้งการจ้างชาวตะวันตกที่เป็นสถาปนิก จิตรกร ประติมากร และนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เข้ามาทำงานในเมืองไทย ศิลปะแบบตะวันตกเริ่มฝังรากลงในสังคมและวัฒนธรรมไทย ผลักดันให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดและวิธีการแสดงรูปแบบทางศิลปกรรมทุกด้าน
สถาปัตยกรรม
มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นเป็นจำนวนมาก ปรากฏมีอิทธิพลการสร้างแบบหลังคาโดมโค้ง ซึ่งเป็นการรับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม แนวศิลปะผสมระหว่างไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ประติมากรรม
ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจะได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก แม้แต่การปั้นพระพุทธรูปให้เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น มีการหล่อ การปั้น การแกะสลักพระพุทธรูปและรูปสัตว์สิงโต มีการปั้นรูปแบบคนเหมือนจริงขึ้นเป็นรูปปั้นอนุสาวรีย์ของรัชกาลต่างๆ
งานประติมากรรมอื่นๆมักจะเป็นงานจำหลักหินอ่อนหรือหล่อสำริดส่งมาจากยุโรป ถือเป็นการเริ่มรับแบบอย่างการปั้นภาพเหมือนและอนุสาวรีย์ตะวันตก
จิตรกรรม
นับจากสมัยรัชกาลที่ 4 จิตรกรรมไทยได้รับอิทธิพลของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานทำให้เกิดศิลปะรูปแบบใหม่ กล่าวคือได้มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตกในการสร้างภาพมนุษย์ที่เน้นความเหมือนจริงมาผนวกเข้ากับวิทยาการของไทยที่เขียนภาพแบบอุดมคติ งานเหล่านี้มีให้เห็นอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังของ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ 4
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น